กฎหมาย ธุรกิจ ที่ผู้ประกอบการควรรู้ มีอะไรบ้าง?

เมื่อพุดถึงธุรกิจในปัจจุบันนั้น ก็มีมากมาย หลากหลายแบบในปัจจุบัน สำหรับใคร ที่กําลังจะก้าวเข้ามาเป็น ผู้ประกอบการ SME เรื่องสำคัญ ที่มองข้ามไปไม่ได้เลย คือ เรื่องของ กฎหมายธุรกิจ เพราะการทำธุรกิจทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตสินค้า หรือบริการก็ตาม ทุกอย่างมีข้อจํากัดทาง กฎหมายทั้งสิ้น บทความนี้ เราจะพาไปรู้จักกับ กฎหมาย ธุรกิจ ที่ร้านค้าต้องรู้ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูพร้อม ๆ กันเลย

กฎหมายธุรกิจ เบื้องต้นที่ SME ควรรู้

ก่อนจะเริ่มทำ ธุรกิจ ควรทราบกฎหมายเบื้องต้น ที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนเอง ดังนี้

1. กฎหมายแรงงาน

คือ ผู้ประกอบ การที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ควรศึกษา กฎหมายแรงงาน ควบคู่ไปด้วย เพราะกฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายพื้นฐาน ที่ระบุถึงสิทธิของลูกจ้าง และนายจ้างไว้อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการเอาเปรียบ ไม่ว่าฝ่ายไหนก็ตาม ซึ่งตามกฎหมายแรงงาน จะกำหนดสิทธิ และสวัสดิการต่าง ๆ เอาไว้ เช่น ระยะเวลาการทำงาน วันหยุด ค่าแรง ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น

2. กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค

คือ กฎหมายนี้ ระบุไว้ว่า ผู้บริโภค มีสิทธิ์ที่จะได้รับรู้ถึงคุณภาพที่ถูกต้อง และเพียงพอ เกี่ยวกับสินค้า หรือบริการ และมีอิสระ ในการเลือกหาสินค้า หรือบริการ เมื่อผู้บริโภครู้สึกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสินค้า หรือบริการ ผู้บริโภคนั้น มีสิทธิ์ฟ้องร้อง และพิจารณาขอชดเชยความเสียหาย ไม่ว่าความเสียหายนั้น จะเกิดจากการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทของผู้ประกอบการก็ตาม ผู้ประกอบการก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบ

ดังนั้น หากอยากดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบ ต้องศึกษากฎหมาย เกี่ยวกับ การคุ้มครองผู้บริโภคให้ดีเสียก่อน เพื่อเป็นการอุดช่องโหว่ให้กับธุรกิจ ดำเนินไปแบบไม่ต้องติดปัญหา ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับ การคุ้มครองผู้บริโภค มีด้วยกันหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค, พระราชบัญญัติยา, พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย, พระราชบัญญัติอาหาร, พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง เป็นต้น

3. กฎหมายเครื่องหมายการค้า

คือ เครื่องหมายการค้า กฎหมายระบุว่า จะต้องมีลักษณะ ที่ทำให้ประชาชน หรือผู้ใช้สินค้าทราบ และเข้าใจได้ว่า สินค้าของมีความแตกต่างจากสินค้าผู้อื่น และเครื่องหมายการค้า จะต้องบ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า และความเป็นเจ้าของอีกด้วย รวมถึงยังเป็นเครื่องหมายที่รับประกันคุณภาพสินค้าแก่ผู้บริโภค ที่สำคัญ จะต้องจดทะเบียนต่อ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

4. กฎหมายลิขสิทธิ์

คือ หากผู้ประกอบการ มีความจำเป็น ต้องหยิบยืมบางสิ่งบางอย่าง จากผู้อื่นมาใช้ ซึ่งถ้าผู้นั้น มีการจดลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง ผู้ประกอบการ ต้องศึกษาให้ดีว่า จะสามารถนํามาดัดแปลง หรือแก้ไขได้หรือไม่ ซึ่งกฎหมายระบุไว้ว่า กรณีเป็นนิติบุคคล ลิขสิทธิ์ จะมีอายุ 50 ปี นับตั้งแต่ได้สร้างสรรค์ผลงานขึ้น ในส่วนงานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรืองานเสียง ภาพที่มีการเผยแพร่ลิขสิทธิ์ มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้ สร้างสรรค์งานชิ้นนั้นขึ้นมา หากเป็นงานที่สร้างสรรค์โดยการจ้าง หรือทำตามคำสั่ง จะมีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งาน ดังนั้น หากผู้ประกอบการใด ที่มีความจําเป็น จะต้องนํางานของผู้อื่นมาใช้ในการทำธุรกิจ จะต้องศึกษาให้ละเอียดรอบคอบก่อน ที่จะนำมาใช้ เพื่อไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางธุรกิจที่ตามมา

5. กฎหมายสิทธิบัตร

คือ หนังสือสำคัญ ที่ใช้คุ้มครอง สิ่งประดิษฐ์ งานออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีการผลิต ซึ่งการคุ้มครองด้วยสิทธิบัตร จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้อื่นลอกเลียนแบบ หรือขายโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ผู้ประกอบการใด ที่มีความเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ต่าง ๆ จำเป็นต้องศึกษาไว้ให้ดี เนื่องจากสิทธิบัตร ถือเป็นหนังสือสำคัญที่ออกให้ เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ทางธุรกิจ ส่วนอายุการคุ้มครองของสิทธิบัตรนั้น หากเป็นงานเกี่ยวกับการประดิษฐ์ จะมีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่วันขอรับสิทธิบัตร แต่ถ้าเป็นลักษณะของการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับตั้งแต่วันขอรับสิทธิบัตร


เรียกได้ว่า กฎหมาย ธุรกิจ เหล่านี้ ถือเป็นกฎหมาย พื้นฐานของการทำธุรกิจ ที่ผู้ประกอบการ SME ควรจะเรียนรู้ ศึกษา และทำความเข้าใจให้ดี เพื่อที่จะได้ไม่ทำผิดพลาด เพราะสิ่งเหล่านี้ จะช่วยทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น นั่นเอง
สามารถติดตาม บทความดี ๆ ได้ที่นี่

สำหรับใครที่ต้องการ ต่อยอดธุรกิจ สร้างรายได้เสริม มาเริ่มต้นธุรกิจ “แฟรนไชส์ไก่ทอด” ที่คุ้มค่ามากที่สุด กับ นายหัวไก่ทอดหาดใหญ่ กันดีไหม? เริ่มต้นธุรกิจเพียง 2,490 บาท การันตีได้ว่า เป็นแฟรนไชส์ ไก่ทอด ที่ได้มาตรฐานความอร่อย และสามารถสร้างรายได้ ได้จริง คืนทุนไว คุ้มราคาอย่างแน่นอน! สนใจเริ่มต้นธุรกิจกับพวกเรา แฟรนไชส์ นายหัวไก่ทอดหาดใหญ่ คลิกเลย


อ้างอิงข้อมูลจาก : bangkokbanksme.com, กรมทรัพย์สินทางปัญญา, http://thaifranchisedownload.com/