การเขียนแผนธุรกิจ วางแผนธุรกิจ ที่ดี ต้องสามารถเพิ่มมูลค่า และดึงดูดแหล่งเงินทุนให้กับธุรกิจได้ เพราะแผนการเหล่านี้ จะช่วยให้กิจการของคุณ สามารถอยู่รอดได้ในทุก ๆ สถานการณ์ วันนี้ นายหัว ไก่ทอดหาดใหญ่ จะพาทุกคนไปรู้จักกับ แผนธุรกิจ ว่าเป็นอย่างไร? และเตรียมตัวอย่างไร? ตามไปดูกันเลย
แผนธุรกิจ คือ?
แผนธุรกิจ (Business Plan) คือ เครื่องมือสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการทุกคน สามารถสร้างธุรกิจของตนเองขึ้นมาได้ตามแผนงานที่ถูกคิดค้น และวางแผนเอาไว้ แผนธุรกิจเปรียบเสมือน “คู่มือ” ในการทำธุรกิจ เพราะทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ และ SMEs ก็จำเป็นต้องมีการ วางแผนธุรกิจ ก่อนลงมือทำจริงเสมอ
ทำไมต้อง วางแผนธุรกิจ ก่อนทำธุรกิจ?
การวางแผนธุรกิจ จะเป็นแนวทาง ที่จะทำให้เราสามารถ มองเห็นภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่แนวคิด ที่มา วิธีการ และจุดแข็งของธุรกิจ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จ ได้อย่างเป็นระบบ และที่สำคัญ หากคุณสามารถวางแผนธุรกิจได้ดี แถมยังนำมาใช้เป็นใบเบิกทาง ในการจัดหาเงินทุน หรือได้รับการอนุมัติ จากผู้ให้บริการสินเชื่อ เพื่อธุรกิจได้ง่ายขึ้นด้วย มีขั้นตอนในการเขียน ดังนี้
1. แนวคิดหลัก (Business Idea)
แนวคิดหลักในการทำธุรกิจ คือ ส่วนที่เราจะใช้ในการนำเสนอ สร้างความเข้าใจในโครงสร้าง และภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจให้กับผู้บริโภค จึงเป็นส่วนที่มีความสำคัญมาก ในแผนธุรกิจ เพราะข้อมูลส่วนนี้ สามารถใช้ในการดึงดูดให้ผู้บริการแหล่งเงินทุน สนใจในธุรกิจของเรา โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีความยาวอยู่ที่ 1-2 หน้ากระดาษ A4 ซึ่งประกอบด้วย
- ภาพรวมธุรกิจ คือ การเขียนถึงแนวคิด ที่มา และใจความสำคัญของธุรกิจของเรา
- โอกาส และการแข่งขัน คือ การคาดการณ์ ถึงโอกาสในการเติบโตในท้องตลาด ที่เต็มไปด้วยคู่แข่ง ว่าเราสามารถอยู่รอดได้อย่างไรบ้าง?
- เป้าหมาย คือ การวางเป้าหมายทางธุรกิจ เพื่อให้เรามองหาแนวทางในการพัฒนาธุรกิจ ได้อย่างชัดเจน ทั้งระยะสั้น และระยะยาว
- กลยุทธ์ คือ การอธิบายแนวทาง และวิธีการในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
- แผนการลงทุน คือ แผนเกี่ยวกับค่าใช่จ่าย เพื่อประเมินความเสี่ยงในการลงทุน ทำให้เราสามารถมองเห็นได้ว่า การจะสร้างธุรกิจขึ้นมา ต้องจัดสรรเงินทุนที่มีอยู่อย่างไร ให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด
- ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ คือ การกำหนดผลตอบแทน ที่จะได้รับจากการประเมินความเสี่ยง ของการพัฒนาธุรกิจ เช่น ยอดขาย จำนวนสาขา หรือจำนวนสมาชิก
2. ความเป็นมาของธุรกิจ (Business Background)
คือ การอธิบายถึงลักษณะของธุรกิจ ในปัจจุบัน และสิ่งที่จะถูกพัฒนาขึ้น ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น ประวัติความเป็นมา ข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นส่วน ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า และบริการ ที่อยู่รวมไปถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจ
3. วิเคราะห์ความเสี่ยง และโอกาส (Brand Analysis)
เป็นการนำ แผนธุรกิจ ทั้งหมด มาวิเคราะห์หา จุดแข็ง-จุดอ่อน และความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อที่จะทำให้เรามองเห็นถึงปัจจัยทั้ง ภายใน-ภายนอก ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจ โดยส่วนใหญ่แล้ว จะวิเคราะห์ออกมาในรูปแบบของ SWOT Analysis ดังนี้
- Strength (จุดแข็ง – ปัจจัยภายใน)
อักษรตัว S ของ SWOT คือ ปัจจัยภายในที่เป็น จุดแข็ง ขององค์กร ที่ทำให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ทำให้มีความแตกต่าง หรือลอกเลียนแบบได้ยาก เช่น ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เพราะลงทุนมานานแล้ว มีแบรนด์ที่คนรู้จักมากกว่า เป็นต้น
- Weakness (จุดอ่อน – ปัจจัยภายใน)
อักษรตัว W ของ SWOT คือ ปัจจัยภายในที่เป็น จุดอ่อน ขององค์กร ที่ทำให้มีความได้เปรียบน้อยกว่าคู่แข่ง เป็นปัจจัยด้านลบ ที่มาจากจุดบกพร่องในองค์กร และควรได้รับการแก้ไข เช่น องค์กรมีช่องทางการขายน้อยกว่า สินค้ามีคนรู้จักน้อยกว่า หรือความหลากหลายของสินค้า มีน้อยกว่า เมื่อเทียบกับคู่แข่ง
- Opportunity (โอกาส – ปัจจัยภายนอก)
อักษรตัว O ของ SWOT คือ ปัจจัยและสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร ที่เป็น โอกาส ทำให้เกิดผลดี ที่องค์กรสามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนา หรือทำให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง เช่น คู่แข่งตอนนี้มีข่าวไม่ดีอยู่ รัฐบาลมีโครงการสนับสนุน หรือช่วงนี้ตลาดกำลังขึ้น สินค้าอาจจะขายดี
- Threat (อุปสรรค – ปัจจัยภายนอก)
อักษรตัว T ของ SWOT คือ ปัจจัยและสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร ที่เป็น อุปสรรค ทำให้เกิดผลลบ ที่องค์กรต้องก้าวผ่าน และปรับตัว เพื่อความอยู่รอด เช่น คู่แข่งเปิดตัวสินค้าใหม่มาแย่งตลาด หรือแนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะมาแทนสินค้าเก่าที่ขายดีขององค์กร
4. แผนการตลาด (Marketing Plan)
ในการเขียนแผนธุรกิจ จำเป็นต้องวางแผนการตลาดให้ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางบริหาร พร้อมวิเคราะห์ความเหมาะสม ในการทำธุรกิจ ที่จะเกิดขึ้น ว่าควรเป็นทิศทางใด หลัก ๆ แล้วแผนการตลาดทั่วไป จะมีอยู่หลายส่วนแต่สิ่งที่ต้องมี คือ
- การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
- การแบ่งส่วนการตลาด กำหนดตำแหน่งธุรกิจ
- หลัก 4Ps (Product, Price, Place, Promotion)
- 4Cs (Consumer Needs, Consumer Benefits, Convenience, Communication)
- การสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้กับกลุ่มเป้าหมาย
5. แผนการดำเนินงาน (Operation Plan)
เป็นการวางกำหนดการ ในการสร้างธุรกิจ ซึ่งแต่ละสถานประกอบการ จะมีรูปแบบ และแนวทางในการดำเนินงานต่างกันไป เพื่อให้สอดคล้องกับการสร้างประสิทธิภาพ จนเกิดผลลัพธ์ อันน่าพึงพอใจ เช่น มีการวางระบบของแต่ละฝ่ายงาน วางหน้าที่ชัดเจน, กระจายระบบการทำงาน, แบ่งกะเวลา เพื่อให้การผลิตเพียงพอต่อความต้องการ, การสร้างมาตรฐาน ในการทำงานอย่างชัดเจน และมีกฎระเบียบ ให้พนักงานปฏิบัติตามไปในทิศทางเดียวกัน เป็นต้น
6. แผนการเงิน (Financial Plan)
แผนการเงิน เป็นส่วนที่สำคัญมาก ในการวางแผนธุรกิจ เพราะเป็นส่วนที่มีความเสี่ยงสูง ในการทำธุรกิจ ต้องมีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การวางแผนเรื่องนี้ ควบคู่ไปด้วย จะช่วยให้บริหารง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการขาดทุนในทุก ๆ ด้าน ซึ่งแผนการเงิน ต้องเริ่มตั้งแต่ การนำเอาทุนจากส่วนต่าง ๆ มารวมกัน, รายรับ- รายจ่าย, ภาษี, ต้นทุน, ยอดขาย, กำไร- ขาดทุน, ค่าเสื่อมสินทรัพย์, การมีสินค้าคงคลัง, ค่าใช้จ่ายเสียเปล่า, ลูกหนี้การค้า- เจ้าหนี้การค้า ฯลฯ โดยส่วนใหญ่ จึงต้องมีผู้เชี่ยวชาญ ในด้านบัญชี เข้ามาแนะนำ หรือเป็นผู้ร่วมเขียนแผนธุรกิจ ในด้านนี้ด้วย
7. แผนสำรอง หรือแผนฉุกเฉิน (Emergency Plan)
ท้ายที่สุดในการเขียน และ วางแผนธุรกิจ ย่อมต้องมีแผนสำรอง หรือแผนฉุกเฉินเอาไว้เสมอ เพราะอย่างที่รู้กันว่า แผนที่เขียนไปนั้น เป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับคาดการณ์ความน่าจะเป็น แต่เมื่อลงมือทำจริง ๆ แล้ว อาจไม่เกิดขึ้นอย่างที่คิดไว้ การมีแผนสำรอง จะช่วยแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดปัญหา ที่ใหญ่โตมากขึ้น จนเกินการควบคุม เช่น
- วางแผนด้านช่องทางการขายออนไลน์ แต่ยอดขายไม่เป็นตามเป้า จึงต้องเปลี่ยนมาใช้ออฟไลน์แทน
- วัตถุดิบต่างประเทศไม่สามารถนำเข้าได้ ต้องเปลี่ยนมาใช้ของในไทยแทน
- สินค้าซ้ำกับแบรนด์อื่น ต้องเปลี่ยนวัตถุดิบ เพื่อสร้างความแตกต่าง
- มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าที่คาดไว้ ต้องลดบางส่วนลง เพื่อให้ได้กำไรตามเป้าหมาย
- หุ้นส่วนบางคน ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน
❝ เป็นอย่างไรกันบ้างกับ แผนธุรกิจ การวางแผนธุรกิจ ที่คนทำธุรกิจทุกคนควรรู้ และมีควรทำเอาไว้เสมอ ซึ่งการทำแผนดังกล่าว ไม่ใช่แค่การเริ่มต้นทำธุรกิจ สำหรับมือใหม่เท่านั้น แต่คนที่ทำมานาน ก็สามารถวางแผนได้เรื่อย ๆ หรือมีการปรับเปลี่ยน ให้เกิดความเหมาะสมอยู่ตลอดได้อย่างไร้ปัญหาด้วย ❞
บทความดี ๆ ที่น่าสนใจ :
สำหรับใครที่ต้องการ ต่อยอดธุรกิจ สร้างรายได้เสริม มาเริ่มต้นธุรกิจ “แฟรนไชส์ไก่ทอด” ที่คุ้มค่ามากที่สุด กับ นายหัวไก่ทอดหาดใหญ่ กันดีไหม? เริ่มต้นธุรกิจเพียง 2,490 บาท การันตีได้ว่า เป็นแฟรนไชส์ ไก่ทอด ที่ได้มาตรฐานความอร่อย และสามารถสร้างรายได้ ได้จริง คืนทุนไว คุ้มราคาอย่างแน่นอน! สนใจเริ่มต้นธุรกิจกับพวกเรา >> แฟรนไชส์ นายหัวไก่ทอดหาดใหญ่ คลิกเลย <<
ขอบคุณข้อมูล Wongnai, thaiwinner.com