การสื่อสารแบบ 7C’s communication มีอะไรบ้าง?

การเรียนรู้ ทักษะการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพ เป็นกระบวนการที่ช่วยให้เราแสดงความรู้สึกที่แท้จริงออกมา และยังช่วยพัฒนาทั้งความสัมพันธ์ส่วนตัว และในที่ทำงานได้ การรู้วิธีฟัง และสื่อสารให้ชัดเจน จะช่วยให้แสดงออกในการสัมภาษณ์งาน การประชุมทางธุรกิจ และในชีวิตส่วนตัวได้ดีเช่นกัน บทความนี้ ขอพาไปรู้จักกับ 7C’s communication คืออะไร? มีอะไรบ้าง ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลย

รู้จักกับ 7C’s Communicatio

7 C’s of Communication คือ รายการตรวจสอบ (Checklist) ที่ช่วยพัฒนา ทักษะการสื่อสาร และเพิ่มโอกาสให้ผู้รับข้อมูล ได้เข้าใจข้อมูลตรงตามความตั้งใจของผู้สื่อสาร เป็นเครื่องมือ ที่นำมาใช้ได้ทั้งกับการสื่อสารด้วยวาจานั่นเอง

7C’s Communication มีอะไรบ้าง?

องค์ประกอบ คุณสมบัติ 7 ประการของ ทักษะการสื่อสาร ที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย

1. Concrete : เห็นภาพชัดเจน

เมื่อข้อความที่ต้องการสื่อ เป็นรูปธรรม ผู้ฟัง ก็จะมีภาพที่ชัดเจนว่า เรากำลังพยายามจะบอกอะไรพวกเขา โดยสามารถทำให้เป็นรูปธรรมได้ ด้วยการมีข้อมูลข้อเท็จจริง หรือตัวเลขมารองรับ

2. Coherent : เนื้อหาสอดคล้องกัน

การสื่อสารที่มีความสอดคล้อง คือ การสื่อสารอย่างเป็นเหตุเป็นผล และมีการลำดับ สิ่งที่จะพูดออกไปให้คนฟังเข้าใจง่ายที่สุด ทุกอย่างที่ยกมาพูด ควรจะเกี่ยวข้องกับประเด็นหลัก ที่เราต้องการสื่อสารออกไป

3. Clarity : มีความชัดเจน

เราต้องรู้ และบอกจุดประสงค์ของเราให้ชัดเจน ผู้ฟัง หรือผู้อ่าน จะได้ไม่ต้องมึนงง สับสน หรือพยายามทำความเข้าใจ กับสิ่งที่เราต้องการจะสื่อออกไป 

4. Commitment : มีความมุ่งมั่น

ความมุ่งมั่น เป็นส่วนสำคัญของ ทักษะการสื่อสารในที่ทำงาน เวลาจะเสนอไอเดีย หรือโปรเจคอะไร ถ้าสื่อสารความมุ่งมั่นที่มี ผ่านน้ำเสียงที่หนักแน่น ก็จะช่วยโน้มน้าวให้คนฟัง ซื้อไอเดียของเราได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยิ่งมีความมุ่งมั่นมากเท่าไร  ยิ่งเรียกขวัญกำลังใจ ให้กับตัวเองเวลาพูดมากขึ้นด้วย 

5. Consistency : ภาษาที่ใช้มีความสม่ำเสมอ

การเลือกใช้คำ เป็นสิ่งที่สำคัญเวลาสื่อสารในที่ทำงาน ควรใช้คำที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือจนอาจสร้างความเข้าใจผิด และไม่ควรใช้คำซ้ำ หรือคำเยิ่นเย้อจนเกินไป เพราะจะทำให้เสียเวลา ที่สำคัญ ต้องเลือกใช้น้ำเสียงให้เหมาะสม กับเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อสารออกไปด้วย

6. Completeness : จบครบสมบูรณ์

แต่ละข้อความ ต้องมีข้อสรุปว่า ทุกคนที่ฟัง ต้องรับรู้ข้อมูล หรือต้องลงมือทำอะไรบ้าง ไม่ควรปล่อยให้คนฟังไปตีความเองต่อ แต่ควรบอกทุกอย่างให้ครบ ตั้งแต่เนิ่น ๆ

7. Courteous : สุภาพ

พยายามทำให้บรรยากาศ เป็นการถกเถียงกันอย่างสร้างสรรค์ หากเห็นแย้ง ก็ควรบอกไปตามตรง แต่ก็ต้องพูดอย่างสุภาพ และเคารพความคิดเห็นคนอื่นด้วย

วิธีพัฒนาทักษะการสื่อสาร ทำได้อย่างไร?

หากยังรู้สึกว่า มีตรงไหนในตัวเรา ที่ยังขาดอยู่ สามารถพัฒนาตนเองได้ ดังนี้

1. ฝึกการฟังอย่างกระตือรือร้น 

นักสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มักจะเป็นผู้ฟังที่ดี การฟังอย่างกระตือรือร้น คือ การมีส่วนร่วมกับผู้พูด โดยการตอบรับเป็นระยะ ๆ และถามคำถาม เพื่อแสดงว่า เราให้ความสนใจกับสิ่งที่ฟัง

2. เน้นการสื่อสารด้วยภาษากาย

ภาษากาย เช่น การสบตา หรือการทำสัญญาณมือ จะช่วยป้องกันการสื่อสารที่ผิดพลาด และส่งผลต่อความประทับใจ ตั้งแต่แรกพบ

3. จัดการอารมณ์ของตัวเอง

การจัดการอารมณ์ และแสดงออกอย่างเหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญ การปล่อยให้อารมณ์รุนแรง เข้าไปในสภาพแวดล้อมโดยไม่จำเป็น อาจนำไปสู่การสื่อสารที่ไม่ดี และเกิดความขัดแย้งได้

4. ขอ Feedback

การขอคำแนะนำ จากเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้า จะช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่า ต้องปรับปรุงตรงจุดไหน และยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงานด้วย

5. ฝึกพูดในที่สาธารณะ

ไม่มีวิธีใด ที่จะพัฒนาทักษะการสื่อสารที่ดี ไปกว่าการหาโอกาสในการพูดในที่สาธารณะ นักสื่อสารที่ดี สามารถถ่ายทอดความรู้สึกของตนได้อย่างชัดเจน การพูดต่อหน้ากลุ่มเป็นประจำ จะช่วยพัฒนาจุดแข็ง และบรรเทาจุดอ่อน ด้านการสื่อสารได้อีกด้วย


ทำไมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจึงสำคัญ?

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีความสำคัญทั้งใน และนอกที่ทำงาน เพราะช่วยให้คุณสามารถถ่ายทอดความตั้งใจ และความรู้สึก ให้เป็นข้อความที่เข้าใจง่าย การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ Productive มากขึ้น ลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ช่วยให้ทุกคนเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูด และทำให้ร่วมกับสมาชิกในทีมได้ดีขึ้นนั่นเอง


เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 7C’s communication ที่นำมาแชร์กัน การเป็นคนที่สื่อสารได้เก่ง มีความสามารถในการรับฟัง และแสดงออกอย่างชัดเจนต่อคนรอบข้าง การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ต้องใช้ชุดทักษะที่หลากหลายซึ่งครอบคลุมทั้งภาษาพูดและภาษากาย รวมถึงการรับฟังอย่างตั้งใจ หวังว่าบทความนี้ จะทำให้หลาย ๆ เข้าใจถึงทักษะการพูด และนำไปพัฒนาตนเองในอนาคตได้  สามารถติดตาม บทความดี ๆ ได้ที่นี่

อ้างอิงข้อมูลจาก :  blog.cariber.co